Thaipat Institute

GRI Certified Training Partner นับตั้งแต่ปี พ.ศ.2556

รู้จัก    CG   ¦   ESG   ¦   CSR   ¦   CSV   ¦   SD   ¦   SE   ¦   SB

ข่าวประชาสัมพันธ์

ปีก่อนหน้า    ปีปัจจุบัน

สถาบันไทยพัฒน์ ในฐานะ Certified Training Partner ของ GRI ในประเทศไทย จะจัดอบรมหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพด้านความยั่งยืน ในรายวิชา GRI Standards Certified Training Course (ระยะเวลา 2 วัน) ในวันพุธและพฤหัสบดีที่ 7-8 พฤษภาคม 2568 (ข้อมูลเพิ่มเติม)

มาตรฐาน GRI กับความเข้าใจผิดเรื่องความยั่งยืน
ไทยติดอันดับประเทศที่มีการรายงานความยั่งยืนสูงสุด

 


สถาบันไทยพัฒน์ จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่าน Webinar ครั้งที่ 1 สำหรับองค์กรสมาชิกประชาคมการเปิดเผยข้อมูลความยั่งยืน หรือ Sustainability Disclosure Community (SDC) เพื่อส่งเสริมให้องค์กรสมาชิกได้รับความรู้และข้อมูลล่าสุดของมาตรฐานการรายงานสากล GRI Standards ในหัวข้อ Second set of GRI Labor Standards: Working life and career development เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2568 (รายละเอียด)

 


บริษัท แอล เอช ไฟแนนซ์เชียล กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) (LHFG) เข้าเป็นแนวร่วมอุณหภิบาล (CAG Alliance) ในฐานะบริษัทแนวหน้าด้านการกำกับดูแลกิจการที่เกี่ยวโยงกับสภาพภูมิอากาศที่ครอบคลุมตลอดห่วงโซ่ธุรกิจ (รายละเอียด)

 


ด้วยความจำกัดของงบการเงินที่เป็นข้อมูลซึ่งสะท้อนถึงผลการดำเนินงานในอดีต ไม่สามารถให้ภาพที่สมบูรณ์เพียงพอต่อการตัดสินใจลงทุน เป็นเหตุให้หน่วยงานผู้จัดทำมาตรฐาน IFRS โดยคณะกรรมการ ISSB จำเป็นต้องออกมาตรฐานการเปิดเผยข้อมูลทางการเงินเกี่ยวกับความยั่งยืนเพิ่มเติม เพื่อรองรับความต้องการของผู้ใช้ข้อมูลให้ทันกับสถานการณ์และปัจจัยการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป.. (อ่านต่อ)

ใช้ ISSB มาตรฐานเดียว ไม่พอตอบโจทย์ความยั่งยืน
ข้อมูลความยั่งยืน มีสองเวอร์ชัน

 


สถาบันไทยพัฒน์ มูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ จัดงานแถลง ทิศทาง ESG ปี 2568: จาก ‘วิถียั่งยืน’ สู่ ‘วิสัยยั่งยืน’ และการเสวนาเรื่อง ‘ESG from the Right Paradigm’ ณ ห้องออดิทอเรียม ชั้น 5 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร สี่แยกปทุมวัน ถนนพระราม 1 (รายละเอียด)

กำหนดการ
ข่าวประชาสัมพันธ์
เอกสารในช่วงการนำเสนอทิศทาง ESG ปี 2568
เอกสารในช่วงเสวนา ESG from the Right Paradigm

 


สถาบันไทยพัฒน์ ได้ทำการประเมินแนวโน้มความเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) ของภาคธุรกิจ ประจำปี พ.ศ. 2568 ภายใต้รายงานที่มีชื่อว่า 2025 ESG Trends: จาก ‘วิถียั่งยืน’ สู่ ‘วิสัยยั่งยืน’ ความหนา 34 หน้า สำหรับหน่วยงานและองค์กรธุรกิจที่กำลังดำเนินอยู่ในวิถีการพัฒนาที่ยั่งยืน สามารถใช้ประเด็นด้าน ESG ในการปรับแนวและจุดเน้นขององค์กรให้สอดรับกับขีดความสามารถของกิจการ เพื่อขับเคลื่อนสู่ความยั่งยืนอย่างมีสมรรถภาพ

สถาบันไทยพัฒน์ ได้จัดทำหนังสือ กรอบการรายงานความยั่งยืนเฉพาะกิจ: ตระกูล TxFD ความหนา 38 หน้า ที่เป็นกรอบการเปิดเผยข้อมูลทางการเงินเกี่ยวกับภูมิอากาศ (TCFD) การเปิดเผยข้อมูลทางการเงินเกี่ยวกับธรรมชาติ (TNFD) และการเปิดเผยข้อมูลทางการเงินเกี่ยวกับสังคมและความเหลื่อมล้ำ (TISFD) เพื่อให้องค์กรธุรกิจได้รู้เท่าทันความเคลื่อนไหวในบริบทของการเปิดเผยข้อมูลทางการเงินที่เกี่ยวกับความยั่งยืนให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง

 


ปฏิเสธไม่ได้ว่า ความเคลื่อนไหวเรื่อง ESG จากที่เป็นการขับเคลื่อนในแวดวงตลาดทุนที่มีความมุ่งประสงค์ให้บริษัทที่ลงทุน ดำเนินกิจการให้มีกำไรที่ดีพร้อมกันกับดูแลสังคมและสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้นไปด้วย ได้ก่อกำลังขึ้นจนพัฒนาเป็นวาระที่มีความเกี่ยวโยงกับฝ่ายการเมือง เนื่องจากการกำหนดนโยบายมหภาคด้าน ESG มีผลต่อทิศทางความเป็นไปของเศรษฐกิจโดยรวม.. (อ่านต่อ)

แนวโน้ม ESG ปี 2568 ในโลกที่เอียงขวา
3 แนวโน้มสำคัญด้าน ESG ปี 2568

 


สถาบันไทยพัฒน์ จัดอบรมรายวิชา Double Materiality (ระยะเวลา 1 วัน) ในวันศุกร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ 2568 ถ่ายทอดเนื้อหาและวิธีการประเมินทวิสารัตถภาพตามแนวทางในมาตรฐาน ESRS สำหรับผู้ที่มีวิชาชีพด้านความยั่งยืน และผู้ที่ต้องการพัฒนาวิชาชีพเพื่อการทำงานในสาขาความยั่งยืน (ข้อมูลเพิ่มเติม)

ข้อมูลความยั่งยืน มีสองเวอร์ชัน
การพัฒนาความยั่งยืนจาก 'องค์กร' สู่ 'องค์รวม'
เหรียญ 2 ด้านของความยั่งยืน
หลักการชี้แนะสำหรับการรายงานความยั่งยืน

 


สถาบันไทยพัฒน์ จัดตั้ง ศูนย์อุณหภิบาล สนับสนุนภาคธุรกิจรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พัฒนาเครื่องมือบริหารมลอากาศในขอบข่ายที่ 3 ที่ตอบโจทย์ทั้งการจัดการความเสี่ยงและสร้างโอกาสผ่านห่วงโซ่การผลิต (อ่านต่อ)

ข่าวประชาสัมพันธ์
แนวร่วมอุณหภิบาล
ที่มาของการตั้งศูนย์อุณหภิบาล

 


สถาบันไทยพัฒน์ นำเสนอแผนขับเคลื่อนความยั่งยืน ESG Triple Up Plan สำหรับกิจการซึ่งมุ่งประสงค์ที่จะลดความเสี่ยง (Risks) ทางธุรกิจ และเพิ่มโอกาส (Opportunities) ทางการตลาด รวมทั้งสร้างให้เกิดผลกระทบ (Impacts) ทางบวกจากการประกอบธุรกิจในปี 2568 (อ่านต่อ)

 


สถาบันไทยพัฒน์ จัดเสวนาแนะนำเครื่องมือ S3ER (Scope 3 Emission Reduction) สำหรับกิจการใช้คำนวณข้อมูลมลอากาศในขอบข่ายที่ 3 (Scope 3) เพื่อนำไปสู่การบริหารมลอากาศในห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) และเครื่องมือ TCAF (Thaipat Carbon Attribution Factors) สำหรับสถาบันการเงินเพื่อใช้คำนวณและจัดการมลอากาศที่สืบเนื่องจากการลงทุนและการให้สินเชื่อ (Financed Emissions)

• เอกสารนำเสนอ "S3ER: Tool to address Scope 3 Emissions"
• เอกสารนำเสนอ "TCAF: Tool to address Financed Emissions"

 


แนะนำเครื่องมือ Double Materiality
ทวิสารัตถภาพ เครื่องมือความยั่งยืนเทียบสากล External Link

 



สถาบันไทยพัฒน์ ได้รับการรับรองจากองค์การแห่งความริเริ่มว่าด้วยการรายงานสากล (Global Reporting Initiative: GRI) ให้เป็น GRI Certified Training Partner นับตั้งแต่ปี พ.ศ.2556

ไทยพัฒน์เข้าเป็นหุ้นส่วนฝึกอบรมที่ได้รับการรับรองจาก GRI
Thaipat Institute becomes the GRI Training Partner in Thailand
รายละเอียดหลักสูตรฝึกอบรม

 


สถาบันไทยพัฒน์ ประกาศก่อตั้ง Transition School โรงเรียนเตรียมธุรกิจเพื่อการประกอบการที่ยั่งยืน ให้พร้อมเปลี่ยนผ่านสู่อนาคต ท่ามกลางความผันผวนทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมโลก (อ่านต่อ)

วาระ ESG : วาระของ ‘กรรมการพิชาน’
ไทยพัฒน์ ตอบโจทย์ความผันผวนโลก รุกตั้ง Transition School

 


สถาบันไทยพัฒน์ ได้เปิดช่องทางการติดต่อสื่อสารผ่าน LINE@ สำหรับผู้ที่สนใจสอบถามข้อมูล หรือต้องการรับข่าวสาร และติดตามความเคลื่อนไหวในงานด้านต่างๆ อาทิ หลักสูตรด้านความยั่งยืน บริการใน Sustainability Store งานบริการให้ความเชื่อมั่น (Assurance Service) ต่อรายงานแห่งความยั่งยืน ตามมาตรฐานสากล ฯลฯ
ท่านสามารถเพิ่มเพื่อนโดยระบุชื่อบัญชี LINE ID:
@thaipat หรือคลิกที่ปุ่ม Add Friends
เพิ่มเพื่อน