สถาบันไทยพัฒน์ จัดงานมอบรางวัลการเปิดเผยข้อมูลความยั่งยืน (Sustainability Disclosure Award) ประจำปี 2562 เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2562 มีองค์กรที่ได้รับรางวัลรวมทั้งสิ้น 84 แห่ง ประกอบด้วย รางวัลเกียรติคุณ: Sustainability Disclosure Award 27 แห่ง ประกาศเกียรติคุณ: Sustainability Disclosure Recognition 21 แห่ง และกิตติกรรมประกาศ: Sustainability Disclosure Acknowledgement 36 แห่ง (รายละเอียด)
• ข่าวประชาสัมพันธ์
• เอกสารประกอบการกล่าวรายงาน (ดร.พิพัฒน์ ยอดพฤติการ)
The Inauguration Announcement of Yunus Thailand at 9th Social Business Day Event in Bangkok, Thailand
• | Social Business Day 2019 ผุด “Yunus Thailand” |
• | เปิดตัว "ยูนุสประเทศไทย" ดึงองค์กรใหญ่พลิกโฉมแก้ปัญหาสังคม |
ดร.พิพัฒน์ ยอดพฤติการ ประธานสถาบันไทยพัฒน์ บรรยายพิเศษเรื่อง “ธรรมาภิบาลกับการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน” ในวันกำกับดูแลกิจการที่ดี หรือ CG DAY ประจำปี 2562 ธนาคารออมสิน ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพฯ
• เอกสารประกอบการบรรยาย
• เนื้อหาคำบรรยาย
- ธรรมาภิบาลในทศวรรษ 2020
- การดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน
- ธนาคารกับการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน
• ไทยพัฒน์ เปิดตัว “SDC” ดันไทยขึ้นผู้นำข้อมูลความยั่งยืน
• SDC: ประชาคมธุรกิจเพื่อความยั่งยืน
• ไทยติดอันดับโลกด้านความยั่งยืน
• กิจการในไทยเจ๋ง ติดท็อปเทนโลก ด้านรายงานข้อมูลความยั่งยืน - SDGs
สถาบันไทยพัฒน์จัดกิจกรรมอบรมการพัฒนากระบวนการจัดทำรายงานแห่งความยั่งยืนตามมาตรฐานการรายงานของ GRI หรือ GRI Standards Certified Training Course เมื่อวันพุธ-พฤหัสที่ 16-17 ตุลาคม 2562 (ข้อมูลเพิ่มเติม)
หน่วยงานภายใต้สำนักงานโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติว่าด้วยข้อริเริ่มด้านการเงิน หรือ UNEP Finance Initiative ได้ประกาศ “หลักการธนาคารที่รับผิดชอบ” โดยมีธนาคารร่วมก่อการ (Founding Banks) 30 แห่ง และธนาคารที่เข้าร่วมลงนามรับหลักการ (Founding Signatories) จำนวน 130 แห่ง จาก 49 ประเทศทั่วโลก เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2562 (ข้อมูลเพิ่มเติม)
สถาบันไทยพัฒน์ ร่วมกับ สมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย จัดงานสัมมนา “State of the Corporate Sustainability: Sector Perspective from 100 Reporting Organizations” เมื่อวันศุกร์ที่ 6 กันยายน 2562 เพื่อเป็นการเผยแพร่รายงานสถานภาพความยั่งยืนของกิจการ ปี 2561 ให้แก่บริษัทจดทะเบียนที่สนใจนำไปใช้ประโยชน์ โดยในงานมีการรายงานสถานะและแนวโน้มความยั่งยืนและ ESG ในตลาดทุนไทย การให้ความรู้ในหัวข้อ "Shared Value of Sustainability Reporting" และการเสวนาในหัวข้อ "Stakeholder vs Investor Perspectives on Corporate ESG Information" (รายละเอียด)
'ESG100 Company ปี 2562'
สถาบันไทยพัฒน์ มอบประกาศนียบัตร “ESG100 Company ปี 2562” ให้แก่องค์กรที่ได้รับคัดเลือกให้เป็นหนึ่งในบริษัทกลุ่มหลักทรัพย์ ESG100 ที่มีการดำเนินงานโดดเด่นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (Environmental Social and Governance: ESG) จากการประเมินหลักทรัพย์จดทะเบียน ในปี พ.ศ.2562
• แอล เอช ไฟแนนซ์เชียล กรุ๊ป
• เบตเตอร์ เวิลด์ กรีน
• ไทยออพติคอล กรุ๊ป
• ผลิตภัณฑ์ตราเพชร
• หาดทิพย์
• ทรัสต์เพื่อการลงทุนในสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์โกลเด้นเวนเจอร์
• บี.กริม เพาเวอร์
• ซีฟโก้
• ธนาคารกรุงศรีอยุธยา
• ศุภาลัย
• บางกอก เชน ฮอสปิทอล
• น้ำมันพืชไทย
• บีซีพีจี
• นำสินประกันภัย
• แอล เอช ไฟแนนซ์เชียล กรุ๊ป
• เบตเตอร์ เวิลด์ กรีน
• ไทยออพติคอล กรุ๊ป
• ผลิตภัณฑ์ตราเพชร
• หาดทิพย์
• ทรัสต์เพื่อการลงทุนในสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์โกลเด้นเวนเจอร์
• บี.กริม เพาเวอร์
• ซีฟโก้
• ธนาคารกรุงศรีอยุธยา
• ศุภาลัย
• บางกอก เชน ฮอสปิทอล
• น้ำมันพืชไทย
• บีซีพีจี
• นำสินประกันภัย
หนังสือ "รู้จักหุ้น ESG100: ประตูสู่การลงทุนที่ยั่งยืน" ฉบับปี 2562 ความหนา 44 หน้า ข้อมูลเบื้องต้นสำหรับผู้ลงทุนและองค์กรธุรกิจ ในการทำความเข้าใจต่อประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) ที่เชื่อมโยงกับบทบาทของบริษัทที่มีต่อเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) และเรื่องความยั่งยืน (Sustainability) รูปแบบการลงทุนโดยใช้ข้อมูล ESG และตัวอย่างการลงทุนที่ยั่งยืนในประเทศไทย (ดาวน์โหลดหนังสือ) |
สถาบันไทยพัฒน์ ประกาศรายชื่อบริษัทจดทะเบียนที่มีการดำเนินงานโดดเด่นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (Environmental, Social and Governance) ติดอันดับ ESG 100 ปี 62 พร้อมคัดกองทุนโครงสร้างพื้นฐาน/รีทส์/อสังหาริมทรัพย์ ด้วยเกณฑ์ ESG เป็นครั้งแรก สร้างทางเลือกสำหรับการลงทุนที่ยั่งยืน และได้รับผลตอบแทนที่มิได้ด้อยไปกว่าการลงทุนในแบบทั่วไป (อ่านต่อ)
• 100 อันดับหลักทรัพย์ ESG100 (ปี 2019)
• Presentation ESG100 - 2019 List (ช่วง ดร.พิพัฒน์ ยอดพฤติการ)
• Presentation สถานการณ์และแนวโน้ม ESG RISK (ช่วง ดร.สุนทร คุณชัยมัง)
• เกณฑ์ในการประเมินหลักทรัพย์ ESG100
• หลักการที่ใช้ในการประเมินหลักทรัพย์ ESG100
For ESG100 information in English, please visit: thaipat.esgrating.com |
ข่าวประชาสัมพันธ์
• | ไทยพัฒน์ เปิดรายชื่อหุ้น ESG100 ปี 62 |
• | THAIPAT Announces ESG100: 2019 List |
ข่าวและบทความที่เกี่ยวข้อง
• | Funds, REITs added to annual ESG100 listing (The Nation) |
• | กระแสหนุนหุ้นยั่งยืนเกิด กบข.นำขบวนงดลงทุนถ้าผิด (ผู้จัดการออนไลน์) |
• | ไทยพัฒน์ เปิดรายชื่อหุ้นที่โดดเด่นด้านธุรกิจยั่งยืน ESG100 ปี 62 (SD Thailand) |
• | ทางเลือกนักลงทุน: ESG กับกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน/รีทส์/อสังหาริมทรัพย์ (ประชาชาติธุรกิจ) |
• | ESG100 ไทยพัฒน์ ปี”62 พัฒนา บจ.ไทยสู่การลงทุนยั่งยืน (ประชาชาติธุรกิจ) |
• | ไทยพัฒน์ เปิดรายชื่อหุ้น ESG100 ปี 62 พร้อมจัดอันดับ กองอสังหาฯ - REITs - โครงสร้างพื้นฐานเป็นปีแรก (นิตยสาร MBA) |
• | หุ้น ESG100 ปี 62 (กรุงเทพธุรกิจ) |
• | ไทยพัฒน์ เผย ESG100 พร้อมจัดอันดับกองอสังหาฯ, REITs และโครงสร้างพื้นฐานเป็นปีแรก (ประชาชาติธุรกิจออนไลน์) |
ข้อมูล ESG100 ย้อนหลัง ปี 2558 | ปี 2559 | ปี 2560 | ปี 2561
ดร.พิพัฒน์ ยอดพฤติการ ประธานสถาบันไทยพัฒน์ ในฐานะผู้แทนประเทศไทยจากภาคองค์กรเอกชน เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการส่งเสริมความร่วมมือความรับผิดชอบต่อสังคม ด้านสวัสดิการและการพัฒนาของภาคธุรกิจในภูมิภาคอาเซียน "ASEAN Workshop on the Promotion of CSR in Social Welfare and Development" ระหว่างวันที่ 5-7 กรกฎาคม 2562 ณ ห้องจูปิเตอร์ 11-13 อาคารชาเลนเจอร์ ศูนย์การประชุมและแสดงสินค้าอิมแพค เมืองทองธานี จ.นนทบุรี จัดโดยกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะอนุกรรมการส่งเสริมความรับผิดชอบต่อสังคมของภาคธุรกิจ ในคณะกรรมการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมแห่งชาติ
สถาบันไทยพัฒน์ จัดงาน Thaipat Runners-up Forum ครั้งที่ 1 เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 20 มิถุนายน ให้แก่องค์กรธุรกิจที่เพิ่งเริ่มดำเนินการเรื่องความยั่งยืน และกิจการที่ต้องการก้าวขึ้นมาอยู่ในกลุ่มผู้นำแถวหน้า ด้วยการแนะนำเครื่องมือและแนวทางการพัฒนาให้กิจการขึ้นแท่นองค์กรผู้นำอย่างเป็นลำดับขั้น โดยมีผู้สนใจเข้าร่วม 92 ท่าน จาก 54 องค์กร (รายละเอียด)
สถาบันไทยพัฒน์ เปิดบริการใหม่ ผ่าน Sustainability Store ด้วยเครื่องมือ S-Value ใช้สร้างคุณค่าที่พึงประสงค์ทางธุรกิจ และเครื่องมือ S-Impact ใช้สร้างผลกระทบที่คาดหวังสู่สังคม ตอบโจทย์การวัดผลที่เป็น Return on Sustainability จากการขับเคลื่อนเรื่องความยั่งยืนของกิจการ (รายละเอียด)
ข่าวและบทความที่เกี่ยวข้อง
• | การวัดผลตอบแทนจากความยั่งยืน (กรุงเทพธุรกิจ) |
• | ..เครื่องมือ Return on Sustainability ที่วัดผลได้ (SD Perspectives) |
• | ความยั่งยืนที่วัดผลได้ ธุรกิจโต+สังคมไปดี (ผู้จัดการออนไลน์) |
• | ไทยพัฒน์ ชู 2 เครื่องมือใหม่ ผ่านสโตร์ความยั่งยืน.. (นิตยสาร MBA) |
• | ไทยพัฒน์ฯ ชูสโตร์ความยั่งยืน (กรุงเทพธุรกิจ) |
• | Value x Impact พลังสร้างความยั่งยืนสู่กิจการ (ประชาชาติธุรกิจ) |
• | “คุณค่า” กับ “ความยั่งยืน” (กรุงเทพธุรกิจ) |
• | ผลกระทบกับความยั่งยืน (กรุงเทพธุรกิจ) |
ประเทศไทยมีจำนวนองค์กรที่มีการเปิดเผยข้อมูลความยั่งยืนมากสุด ในภูมิภาคอาเซียน (226 แห่ง) และติดอันดับ Top 10 โลก ด้านการเปิดเผยรายงานแห่งความยั่งยืนตามกรอบ GRI (Global Reporting Initiative)
สถาบันไทยพัฒน์ขอเรียนเชิญหน่วยงานและองค์กรที่มีการเปิดเผยข้อมูลความยั่งยืน มาร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการส่งเสริมบทบาทการเป็นผู้นำความยั่งยืนด้านการเปิดเผยข้อมูล ด้วยการเป็นสมาชิก Sustainability Disclosure Community (ไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ) ได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป (รายละเอียด)
สถาบันไทยพัฒน์ ในฐานะ GRI Data Partner จัดตั้งเครือข่าย “Sustainability Disclosure Community” เพื่อส่งเสริมการเผยแพร่การดำเนินงานด้านความยั่งยืนของกิจการ ไปสู่การเปิดเผยข้อมูลความยั่งยืนที่ไม่จำกัดเฉพาะที่เป็นรูปเล่มรายงาน แต่ครอบคลุมไปสู่รูปแบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ออนไลน์ อินโฟกราฟิก ฯลฯ รวมทั้งการขับเน้นและรักษาบทบาทการเป็นผู้นำของภาคเอกชนไทย ต่อการเปิดเผยข้อมูลความยั่งยืนทั้งในประชาคมระดับภูมิภาคและระดับสากล ตลอดจนการช่วยเหลือองค์กรในการยกระดับการเปิดเผยข้อมูลด้านความยั่งยืน รวมทั้งการพัฒนาองค์กรสู่ความยั่งยืนในระยะยาว (รายละเอียด)
สถาบันไทยพัฒน์ จัดงานแถลง “ทิศทาง CSR ปี 2562” และการเสวนาเรื่อง Value x Impact: The Power of Sustainability เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2562 ณ ห้องออดิทอเรียม ชั้น 5 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร สี่แยกปทุมวัน ถนนพระราม 1 (รายละเอียด)
• กำหนดการ
• ข่าวประชาสัมพันธ์
• เอกสารในช่วงการนำเสนอทิศทาง CSR ปี 2562
• เอกสารแนะนำเครื่องมือ Value Driver Model ในช่วงเสวนา
• เอกสารแนะนำเครื่องมือ Impact Management ในช่วงเสวนา
สนทนา 6 ทิศทาง CSR ปี 2562 ทางคลื่นความคิด 96.5 MHz |
ช่วง 6 ทิศทาง CSR ปี 62 | ช่วงแนะนำเครื่องมือ Value x Impact |
ช่วงแนะนำเครื่องมือ Value Driver Model | ช่วงแนะนำเครื่องมือ Impact Management |
หนังสือ "พลังแห่งความยั่งยืน: The Power of Sustainability" ความหนา 40 หน้า แนวทางในการใช้เครื่องมือ Value Driver Model และ Impact Management ในการเพิ่มคุณค่าและผลกระทบจากการดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคมมาใช้ตอบโจทย์ความยั่งยืน และเสริมสร้างผลประกอบการในระยะยาวให้แก่กิจการ (ดาวน์โหลดหนังสือ) |
ในรอบปีที่ผ่านมา ความตื่นตัวในเรื่องของการดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการ (CSR) มีปัจจัยจากแรงขับดันหลักในสองขั้ว คือ การทำตามกระแส ทั้งที่เกิดจากองค์กรข้างเคียงในอุตสาหกรรม จากคู่ค้าในห่วงโซ่ธุรกิจ และจากกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง เป็นขั้วของการทำ CSR ในเชิงรับ กับการทำเพราะเห็นคุณค่า ที่เกิดจากการได้ประโยชน์ร่วมทั้งแก่องค์กร (อาทิ ช่วยลดความเสี่ยง เพิ่มผลิตภาพ ขยายโอกาสทางธุรกิจ) และสังคม (อาทิ ช่วยกระจายรายได้ เพิ่มทักษะอาชีพคนในชุมชน สิ่งแวดล้อมดีขึ้น) เป็นขั้วของการทำ CSR ในเชิงรุก (อ่านต่อ)
No comments:
Post a Comment