สถาบันไทยพัฒน์ ในฐานะผู้บุกเบิกการพัฒนาข้อมูลด้านความยั่งยืนของธุรกิจ และเป็นผู้จัดทำข้อมูลยูนิเวิร์สการลงทุนกลุ่มหลักทรัพย์ ESG100 และ ESG Emerging ในประเทศไทย ริเริ่มรูปแบบการลงทุนที่เน้นปัจจัย ESG ผ่านกองทุนส่วนบุคคล โดยคัดเลือกจากหลักทรัพย์ที่ผ่านเกณฑ์ประเมินด้าน ESG ของสถาบันไทยพัฒน์
พ.ศ.2557
จัดตั้งหน่วยงาน ESG Rating ขึ้น เพื่อพัฒนาฐานข้อมูลด้านความยั่งยืนของธุรกิจในประเทศไทย
พ.ศ.2558
จัดทำข้อมูล 100 หลักทรัพย์จดทะเบียนที่มีการดำเนินงานโดดเด่นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล หรือ ESG100 Universe สำหรับรองรับความต้องการของผู้ลงทุนที่ให้น้ำหนักการลงทุนในบริษัทที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการกำกับดูแลกิจการที่ดี โดยได้ผลักดันให้มีการจัดตั้งกองทุนรวม ESG กองแรกในประเทศไทยขึ้น เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2558
พ.ศ.2561
จัดทำดัชนี อีเอสจี ไทยพัฒน์ หรือ Thaipat ESG Index ดัชนี ESG แรกในประเทศไทยที่ใช้การคำนวณดัชนีด้วยวิธีถ่วงน้ำหนักหลักทรัพย์เท่ากัน (Equal Weighed) เพื่อใช้เป็นดัชนีอ้างอิงสำหรับการลงทุน (Investable Index) ในหลักทรัพย์คุณภาพที่ผ่านเกณฑ์ประเมินด้าน ESG ของสถาบันไทยพัฒน์ โดยมี S&P Dow Jones เป็นผู้คำนวณและเผยแพร่ข้อมูลดัชนี ผ่านหน้าจอ Bloomberg และ Reuters ให้แก่ผู้ลงทุนทั่วโลก
พ.ศ.2563
จัดทำรายชื่อหลักทรัพย์ที่น่าลงทุนกลุ่ม ESG Emerging เป็นทางเลือกสำหรับการลงทุนในหลักทรัพย์ที่สามารถสร้างผลตอบแทนจากปัจจัย ESG ในฐานะบริษัทวิถียั่งยืนที่น่าลงทุน โดยพิจารณาจากข้อมูลการดำเนินงานด้าน ESG ว่ามีแนวโน้มที่จะสร้างผลตอบแทนเพิ่มขึ้นในระยะยาวให้แก่ผู้ลงทุน
พ.ศ.2565
ริเริ่มการลงทุนที่เน้นปัจจัย ESG ในรูปแบบกองทุนส่วนบุคคล (ESG Private Fund) โดยคัดเลือกจากหลักทรัพย์ที่น่าลงทุนกลุ่ม ESG Emerging ที่ให้น้ำหนักความสำคัญกับหลักทรัพย์ซึ่งมีมูลค่าตลาดขนาดกลางและขนาดเล็ก (Small-Mid Cap) เท่าเทียมกับหลักทรัพย์ขนาดใหญ่ (Large Cap) ทำให้หลักทรัพย์คุณภาพขนาดกลางและขนาดเล็กซึ่งผ่านเกณฑ์ด้าน ESG และมีความเคลื่อนไหวในช่วงราคาที่กว้าง มีโอกาสสร้างผลตอบแทนที่สูงกว่าดัชนีอ้างอิงพื้นฐาน
ผู้ลงทุนสถาบันและองค์กรธุรกิจที่สนใจ สามารถเข้าลงทุนใน ESG Private Fund ที่คัดเลือกหลักทรัพย์จาก ESG Emerging Universe ตามเกณฑ์ประเมินด้าน ESG ของสถาบันไทยพัฒน์ ได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ข้อมูลเพิ่มเติม: ESG Private Fund
No comments:
Post a Comment