ทีพีไอ โพลีน เพาเวอร์ รับมอบเครดิต ESG จากไทยพัฒน์
ตอกย้ำความเป็นผู้นำในธุรกิจโรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงขยะใหญ่ที่สุดในไทย
24 สิงหาคม 2565 – บริษัท ทีพีไอ โพลีน เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) โรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงขยะใหญ่ที่สุดในโลกซึ่งตั้งอยู่ในประเทศไทย รับมอบเครดิตการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (Environmental, Social and Governance: ESG) หรือ ESG Credit จากสถาบันไทยพัฒน์ เป็นรายแรกในหมวดธุรกิจโรงไฟฟ้าที่ใช้พลังงานทดแทน
ESG Credit เป็นการให้การรับรองโครงการและความริเริ่มที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ที่ออกให้ในรูปของหน่วยเครดิต ESG จากสถาบันไทยพัฒน์ โดยประเมินจากขนาดของโครงการที่ส่งผลกระทบทางบวกต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม เช่น การลงทุนสีเขียว1
นายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ (ที่สี่จากซ้าย) ประธานกรรมการ พร้อมคณะผู้บริหารบริษัท ทีพีไอ โพลีน เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) (TPIPP) รับมอบประกาศนียบัตร ESG Credit จำนวน 6,000,000 เครดิต จากโครงการปรับปรุงหม้อไอน้ำ และโครงการขยายกำลังการผลิตเชื้อเพลิงขยะ จากนายพิพัฒน์ ยอดพฤติการ (ที่สี่จากขวา) ประธานสถาบันไทยพัฒน์ ณ สำนักงานใหญ่ ทีพีไอ โพลีน เพาเวอร์ สาทร กรุงเทพฯ
บมจ.ทีพีไอ โพลีน เพาเวอร์ ได้รับ ESG Credit จำนวน 6,000,000 เครดิต ในปี 2565 จากการลงทุนสีเขียว ตามนิยามในเอกสาร Core SDG indicators for entities ที่จัดทำโดย UNCTAD2 ในโครงการปรับปรุงหม้อไอน้ำ (Boiler) และโครงการขยายกำลังการผลิตเชื้อเพลิงขยะ (Waste-based Fuel)
นายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ ประธานกรรมการ บมจ.ทีพีไอ โพลีน เพาเวอร์ กล่าวว่า “การที่ บมจ.ทีพีไอ โพลีน เพาเวอร์ ได้รับเครดิตการดำเนินงานด้าน ESG จากสถาบันไทยพัฒน์ในครั้งนี้ ถือเป็นเครื่องรับรองการดำเนินงานของบริษัทที่ให้ความสำคัญกับการดำเนินธุรกิจผลิตไฟฟ้าโดยใช้เชื้อเพลิงจากขยะ ซึ่งเป็นการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก อันเป็นสาเหตุของภาวะโลกร้อน เป็นการดำเนินธุรกิจที่เติบโตอย่างยั่งยืน สอดคล้องกับกลยุทธ์องค์กร เพื่อการเติบโตอย่างสมดุลในทุกมิติ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม และเป็นประโยชน์ต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มอย่างสมดุล”
ดร.พิพัฒน์ ยอดพฤติการ ประธานสถาบันไทยพัฒน์ กล่าวว่า “สถาบันฯ มีความยินดีที่ทาง บมจ.ทีพีไอ โพลีน เพาเวอร์ ได้รับการรับรองเครดิต ESG จากโครงการปรับปรุงหม้อไอน้ำ และโครงการขยายกำลังการผลิตเชื้อเพลิงขยะ ซึ่งมีส่วนในการตอบสนองต่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าที่ 7 พลังงานสะอาดและเข้าถึงได้ ตัววัดที่ 7.b.1 ที่เป็นการลงทุนในด้านประสิทธิภาพการใช้พลังงาน และเป้าที่ 9 โครงสร้างพื้นฐาน นวัตกรรม และการปรับให้เป็นอุตสาหกรรมที่ยั่งยืน ตัววัดที่ 9.4.1 ที่เป็นปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ลดได้ต่อหน่วยมูลค่าเพิ่ม”
โครงการปรับปรุงหม้อไอน้ำ (Boiler) ของโรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงถ่านหิน TG7 (70 MW) ให้เป็นโรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงขยะ ใช้เงินลงทุนประมาณ 1,000 ล้านบาท เพื่อใช้เชื้อเพลิงขยะมาใช้เป็นเชื้อเพลิงหลักในการผลิตกระแสไฟฟ้า ทดแทนการใช้พลังงานถ่านหิน 100% คาดว่าโครงการจะแล้วเสร็จระยะที่ 1 ในเดือนกันยายน 2565 โดยมีกำลังการผลิต 40 เมกะวัตต์ และระยะที่ 2 ในช่วงเดือนเมษายน 2565 – พฤษภาคม 2566 โดยขยายกำลังการผลิตเป็น 70 เมกะวัตต์ ซึ่งเป็นพลังงานสะอาดสีเขียว
นอกจากนี้ โครงการขยายกำลังการผลิตเชื้อเพลิงขยะ (Waste-based Fuel) เป็นการผลิตไฟฟ้าโดยใช้เทคโนโลยีสะอาดและใช้เชื้อเพลิงจากพลังงานหมุนเวียน โดยในปี 2565 บริษัทได้ลงทุนขยายกำลังการผลิตเชื้อเพลิงขยะอีก 5 สายการผลิต (โรงงานแห่งที่ 3) ใช้เงินลงทุนประมาณ 1,000 ล้านบาท ส่งผลให้บริษัทมีกำลังการผลิตติดตั้งเชื้อเพลิงขยะเป็น 5,760 ตันต่อวัน เพื่อเตรียมป้อนเชื้อเพลิงขยะ ให้แก่โรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงถ่านหินกำลังการผลิตติดตั้ง 150 เมกะวัตต์ (TG8) ของบริษัท (ปัจจุบันอยู่ระหว่างการลงทุนก่อสร้างหม้อไอน้ำเพิ่มเติม 3 ชุด เพื่อเปลี่ยนจากการใช้เชื้อเพลิงถ่านหินมาใช้เชื้อเพลิงขยะแทน 100% ในการผลิตไฟฟ้า) โดยโรงงานผลิตเชื้อเพลิงขยะแห่งที่ 3 นี้ จะทยอยแล้วเสร็จในปี 2565
📌 ข้อมูลโครงการปรับปรุงหม้อไอน้ำของโรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงถ่านหิน TG7
📌 ข้อมูลโครงการขยายกำลังการผลิตเชื้อเพลิงขยะ (Waste-based Fuel)
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
สถาบันไทยพัฒน์: คุณศิตา ศิริศักดิพร
LINE ID: @thaipat
อีเมล: info@thaipat.org
--------------------------------------
1 นิยามของคำว่า “สีเขียว” มีความหลากหลายตามแต่ละกิจการที่นำไปใช้ (Environmental, Ecological, Eco-friendly) ซึ่งโดยทั่วไป หมายรวมถึง การผลิตพลังงานไฟฟ้าและยานพาหนะที่ใช้คาร์บอนต่ำ โครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ ประสิทธิภาพการใช้พลังงาน การควบคุมมลพิษ การแปรสภาพเพื่อใช้ใหม่ การจัดการของเสียและการนำกลับมาใช้ประโยชน์ในรูปของทรัพยากรใหม่หรือแปรรูปเป็นพลังงานทดแทน (Waste of Energy) รวมถึงเทคโนโลยีอื่นใดที่ช่วยในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม.
2 In accordance with the Agreed Conclusions of the thirty-fourth session of the Intergovernmental Working Group of Experts on International Standards of Accounting and Reporting (ISAR).
[ข่าวประชาสัมพันธ์]
ESG Credit เป็นการให้การรับรองโครงการและความริเริ่มที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ที่ออกให้ในรูปของหน่วยเครดิต ESG จากสถาบันไทยพัฒน์ โดยประเมินจากขนาดของโครงการที่ส่งผลกระทบทางบวกต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม เช่น การลงทุนสีเขียว1
นายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ (ที่สี่จากซ้าย) ประธานกรรมการ พร้อมคณะผู้บริหารบริษัท ทีพีไอ โพลีน เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) (TPIPP) รับมอบประกาศนียบัตร ESG Credit จำนวน 6,000,000 เครดิต จากโครงการปรับปรุงหม้อไอน้ำ และโครงการขยายกำลังการผลิตเชื้อเพลิงขยะ จากนายพิพัฒน์ ยอดพฤติการ (ที่สี่จากขวา) ประธานสถาบันไทยพัฒน์ ณ สำนักงานใหญ่ ทีพีไอ โพลีน เพาเวอร์ สาทร กรุงเทพฯ
บมจ.ทีพีไอ โพลีน เพาเวอร์ ได้รับ ESG Credit จำนวน 6,000,000 เครดิต ในปี 2565 จากการลงทุนสีเขียว ตามนิยามในเอกสาร Core SDG indicators for entities ที่จัดทำโดย UNCTAD2 ในโครงการปรับปรุงหม้อไอน้ำ (Boiler) และโครงการขยายกำลังการผลิตเชื้อเพลิงขยะ (Waste-based Fuel)
นายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ ประธานกรรมการ บมจ.ทีพีไอ โพลีน เพาเวอร์ กล่าวว่า “การที่ บมจ.ทีพีไอ โพลีน เพาเวอร์ ได้รับเครดิตการดำเนินงานด้าน ESG จากสถาบันไทยพัฒน์ในครั้งนี้ ถือเป็นเครื่องรับรองการดำเนินงานของบริษัทที่ให้ความสำคัญกับการดำเนินธุรกิจผลิตไฟฟ้าโดยใช้เชื้อเพลิงจากขยะ ซึ่งเป็นการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก อันเป็นสาเหตุของภาวะโลกร้อน เป็นการดำเนินธุรกิจที่เติบโตอย่างยั่งยืน สอดคล้องกับกลยุทธ์องค์กร เพื่อการเติบโตอย่างสมดุลในทุกมิติ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม และเป็นประโยชน์ต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มอย่างสมดุล”
ดร.พิพัฒน์ ยอดพฤติการ ประธานสถาบันไทยพัฒน์ กล่าวว่า “สถาบันฯ มีความยินดีที่ทาง บมจ.ทีพีไอ โพลีน เพาเวอร์ ได้รับการรับรองเครดิต ESG จากโครงการปรับปรุงหม้อไอน้ำ และโครงการขยายกำลังการผลิตเชื้อเพลิงขยะ ซึ่งมีส่วนในการตอบสนองต่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าที่ 7 พลังงานสะอาดและเข้าถึงได้ ตัววัดที่ 7.b.1 ที่เป็นการลงทุนในด้านประสิทธิภาพการใช้พลังงาน และเป้าที่ 9 โครงสร้างพื้นฐาน นวัตกรรม และการปรับให้เป็นอุตสาหกรรมที่ยั่งยืน ตัววัดที่ 9.4.1 ที่เป็นปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ลดได้ต่อหน่วยมูลค่าเพิ่ม”
โครงการปรับปรุงหม้อไอน้ำ (Boiler) ของโรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงถ่านหิน TG7 (70 MW) ให้เป็นโรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงขยะ ใช้เงินลงทุนประมาณ 1,000 ล้านบาท เพื่อใช้เชื้อเพลิงขยะมาใช้เป็นเชื้อเพลิงหลักในการผลิตกระแสไฟฟ้า ทดแทนการใช้พลังงานถ่านหิน 100% คาดว่าโครงการจะแล้วเสร็จระยะที่ 1 ในเดือนกันยายน 2565 โดยมีกำลังการผลิต 40 เมกะวัตต์ และระยะที่ 2 ในช่วงเดือนเมษายน 2565 – พฤษภาคม 2566 โดยขยายกำลังการผลิตเป็น 70 เมกะวัตต์ ซึ่งเป็นพลังงานสะอาดสีเขียว
นอกจากนี้ โครงการขยายกำลังการผลิตเชื้อเพลิงขยะ (Waste-based Fuel) เป็นการผลิตไฟฟ้าโดยใช้เทคโนโลยีสะอาดและใช้เชื้อเพลิงจากพลังงานหมุนเวียน โดยในปี 2565 บริษัทได้ลงทุนขยายกำลังการผลิตเชื้อเพลิงขยะอีก 5 สายการผลิต (โรงงานแห่งที่ 3) ใช้เงินลงทุนประมาณ 1,000 ล้านบาท ส่งผลให้บริษัทมีกำลังการผลิตติดตั้งเชื้อเพลิงขยะเป็น 5,760 ตันต่อวัน เพื่อเตรียมป้อนเชื้อเพลิงขยะ ให้แก่โรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงถ่านหินกำลังการผลิตติดตั้ง 150 เมกะวัตต์ (TG8) ของบริษัท (ปัจจุบันอยู่ระหว่างการลงทุนก่อสร้างหม้อไอน้ำเพิ่มเติม 3 ชุด เพื่อเปลี่ยนจากการใช้เชื้อเพลิงถ่านหินมาใช้เชื้อเพลิงขยะแทน 100% ในการผลิตไฟฟ้า) โดยโรงงานผลิตเชื้อเพลิงขยะแห่งที่ 3 นี้ จะทยอยแล้วเสร็จในปี 2565
📌 ข้อมูลโครงการปรับปรุงหม้อไอน้ำของโรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงถ่านหิน TG7
📌 ข้อมูลโครงการขยายกำลังการผลิตเชื้อเพลิงขยะ (Waste-based Fuel)
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
สถาบันไทยพัฒน์: คุณศิตา ศิริศักดิพร
LINE ID: @thaipat
อีเมล: info@thaipat.org
--------------------------------------
1 นิยามของคำว่า “สีเขียว” มีความหลากหลายตามแต่ละกิจการที่นำไปใช้ (Environmental, Ecological, Eco-friendly) ซึ่งโดยทั่วไป หมายรวมถึง การผลิตพลังงานไฟฟ้าและยานพาหนะที่ใช้คาร์บอนต่ำ โครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ ประสิทธิภาพการใช้พลังงาน การควบคุมมลพิษ การแปรสภาพเพื่อใช้ใหม่ การจัดการของเสียและการนำกลับมาใช้ประโยชน์ในรูปของทรัพยากรใหม่หรือแปรรูปเป็นพลังงานทดแทน (Waste of Energy) รวมถึงเทคโนโลยีอื่นใดที่ช่วยในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม.
2 In accordance with the Agreed Conclusions of the thirty-fourth session of the Intergovernmental Working Group of Experts on International Standards of Accounting and Reporting (ISAR).
[ข่าวประชาสัมพันธ์]