Thaipat Institute

GRI Certified Training Partner นับตั้งแต่ปี พ.ศ.2556

รู้จัก    CG   ¦   ESG   ¦   CSR   ¦   CSV   ¦   SD   ¦   SE   ¦   SB

แนวร่วมอุณหภิบาล

ที่มา      ความสำคัญ      สิทธิประโยชน์


ในมาตรฐาน Corporate Net Zero ของ SBTi ที่ประกาศใช้เมื่อปี ค.ศ. 2024 กำหนดให้กิจการที่มีสัดส่วนมลอากาศในขอบข่ายที่ 3 เกินกว่า 40% ของปริมาณมลอากาศที่ปล่อยทั้งหมด จะต้องตั้งเป้าหมายระยะใกล้ (5-10 ปี) สำหรับการลดมลอากาศลงให้ได้สองในสาม (67%) ของปริมาณมลอากาศที่ปล่อยในขอบข่ายที่ 3 และสอดคล้องกับกรอบเพดานอุณหภูมิไม่เกิน 2 °C เป็นอย่างน้อย ขณะที่การตั้งเป้าหมายระยะยาว (ปี ค.ศ. 2050) ต้องครอบคลุมการลดมลอากาศที่ปล่อยในขอบข่ายที่ 3 ให้ได้ 90% และสอดคล้องกับกรอบเพดานอุณหภูมิไม่เกิน 1.5 °C

ในปี พ.ศ. 2568 สถาบันไทยพัฒน์ได้มีการจัดตั้งศูนย์อุณหภิบาล หรือ Climate-Aligned Governance Center (CAG Center) โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะเพิ่มขีดความสามารถให้แก่ภาคธุรกิจในการรวบรวมข้อมูลมลอากาศในขอบข่ายที่ 3 เพื่อนำไปสู่การบริหารมลอากาศในห่วงโซ่คุณค่า ซึ่งเป็นโจทย์ที่ท้าทายของกิจการต่อการบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์

องค์กรธุรกิจสามารถเข้าร่วมมีบทบาทในการเป็นผู้นำด้านการกำกับดูแลกิจการที่เกี่ยวโยงกับสภาพภูมิอากาศ ด้วยการเข้าเป็นแนวร่วมอุณหภิบาล (CAG Alliance) โดยสิทธิประโยชน์ที่องค์กรแนวร่วมจะได้รับ ได้แก่

การร่วมตอบสนองต่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน SDG Target 9.4
การเปิดเผยความก้าวหน้าการลดมลอากาศขององค์กร ในฐานข้อมูล Endorsed Emission Inventory (EEI)
การร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างองค์กรแนวร่วมผ่าน Webinar ตลอดปี
การรับการตรวจรับรองความก้าวหน้าการลดมลอากาศในขอบข่ายที่ 3 ประจำปี (ถึงปี ค.ศ. 2050)

องค์กรธุรกิจหรือหน่วยงานที่สนใจ สามารถติดต่อเพื่อเข้าเป็นแนวร่วมอุณหภิบาล ได้ทางอีเมล info@thaipat.org ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป